เมื่อย้ายมาอยู่ศูนย์ภูมิภาคแล้วเราต้องเริ่มด้วยการทำความคุ้นเคยกับสนามบินที่มาประจำกันก่อน โดยสองสัปดาห์แรกจะต้องเรียนหลักสูตร Flight Data หรือเจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน โดยจะเรียนเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสนามบินและการทำงานเบื้องต้นครับ สอบยิบย่อยเกือบทุกวันแล้วก็ต้องสอบใหญ่กันอีก
พอเรียนจบก็จะได้ขึ้นมาอยู่บนหอบังคับการบินแล้วครับ เราต้องฝึกงานหรือ On the Job Training(OJT) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ข้อมูลการบินหรือ Flight Data Officer(FDO) เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือนหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ การทำงานในช่วงนี้ ยังไม่ได้จับไมค์วิทยุสื่อสารกับนักบินครับ แต่ที่เหลือก็ต้องฝึกทำทั้งหมด และต้องใช้โอกาสนี้เรียนรู้ศึกษาการทำงานของพี่ๆ ATC ไปด้วย
เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและสภาพการจราจรทางอากาศของแต่ละสนามบินมีความแตกต่างกัน การจัดการ Traffic ก็ย่อมต้องมีความแตกต่างกันบ้าง เหมือนการเล่นฟุตบอลที่ทุกทีมต้องใช้กฏกติกาเดียวกัน แต่ก็จะมีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละทีม
เราต้องหมั่นสังเกตุเหตุการณ์จดจำลักษณะต่างๆให้ได้มากที่สุด เช่น ลักษณะและความเร็วของเครื่องบินแบบต่างๆ , ระยะเวลาที่เครื่องบินใช้ในการเคลื่อนตัวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของสนามบินที่เรียกว่าการ Taxi , การเข้ามาลงสนามบินแบบต่างๆของเครื่องบิน , ความเร็ว , ความสูงที่ใช้ ฯลฯ เมื่อ OJT ครบตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดแล้วก็ต้องสอบให้ผ่านเกณฑ์เพื่อรอเรียนในหลักสูตรต่อไปครับ
พอเรียนจบก็จะได้ขึ้นมาอยู่บนหอบังคับการบินแล้วครับ เราต้องฝึกงานหรือ On the Job Training(OJT) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ข้อมูลการบินหรือ Flight Data Officer(FDO) เป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือนหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ การทำงานในช่วงนี้ ยังไม่ได้จับไมค์วิทยุสื่อสารกับนักบินครับ แต่ที่เหลือก็ต้องฝึกทำทั้งหมด และต้องใช้โอกาสนี้เรียนรู้ศึกษาการทำงานของพี่ๆ ATC ไปด้วย
เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและสภาพการจราจรทางอากาศของแต่ละสนามบินมีความแตกต่างกัน การจัดการ Traffic ก็ย่อมต้องมีความแตกต่างกันบ้าง เหมือนการเล่นฟุตบอลที่ทุกทีมต้องใช้กฏกติกาเดียวกัน แต่ก็จะมีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละทีม
เราต้องหมั่นสังเกตุเหตุการณ์จดจำลักษณะต่างๆให้ได้มากที่สุด เช่น ลักษณะและความเร็วของเครื่องบินแบบต่างๆ , ระยะเวลาที่เครื่องบินใช้ในการเคลื่อนตัวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของสนามบินที่เรียกว่าการ Taxi , การเข้ามาลงสนามบินแบบต่างๆของเครื่องบิน , ความเร็ว , ความสูงที่ใช้ ฯลฯ เมื่อ OJT ครบตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดแล้วก็ต้องสอบให้ผ่านเกณฑ์เพื่อรอเรียนในหลักสูตรต่อไปครับ
หลังจาก OJT ครบตามเวลาและสอบผ่านแล้ว ก็จะได้ปรับเลื่อนตำแหน่งเป็น "เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน" ให้ได้ชื่นใจขึ้นมาหน่อย จากนั้น อีกหนึ่งหลักสูตรที่ต้องเรียนคือหลักสูตร Aerodrome ซึ่งใช้เวลาเรียน 3 เดือนครับ การเรียนจะคล้ายกับตอนเรียนภาค Aerodrome ที่สถาบันการบินพลเรือน แต่ในภาคทฤษฎีจะโฟกัสที่ข้อมูลสนามบินของเราเป็นส่วนใหญ่ และในภาคปฏิบัติจะเปลี่ยนจากการทำ Simulation ของสนามบินดอนเมืองมาเป็นสนามบินที่เราปฏิบัติงาน และที่สำคัญคือเพิ่มระดับความยากและปริมาณ Traffic ให้มากขึ้นอีกครับ เรียนจบแล้วก็เช็ค รอบนี้มาเต็มทั้งข้อเขียน , Oral test และ Sim ครับ
เมื่อสอบผ่านแล้วก็ต้องกลับขึ้นมาบนหอบังคับการบินอีกครั้งเพื่อ OJT ในตำแหน่ง ATC .. ได้จับไมค์จริงๆแล้วคร้าบ !! ครั้งแรกนี่ตื่นเต้นน่าดูเลย เพราะครั้งนี้ไม่ใช่เครื่องบินจำลอง แต่เป็นเครื่องบินจริง นักบินจริง ผู้โดยสารจริงไม่มีสแตนอินเด้อ แต่ก็ยังอุ่นใจเพราะเราไม่ได้ทำงานคนเดียวครับ จะมีรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์(Coach)ประกบอยู่ข้างหลังตลอด ไมค์ก็มีสองอัน หากเกิดอะไรขึ้น Coach ก็สามารถกดไมค์ของตัวเองได้เลย ส่วนไมค์ของเราก็จะโดนตัดสัญญานไปเลยครับ
เมื่อ OJT ได้ประมาณ 3 เดือนก็ต้อง Pre-Check กับคณะครูและรุ่นพี่ผู้ทรงคุณวุฒิ การสอบในช่วงหลังๆนี่ไม่ต้องห่วงครับ จัดเต็มขึ้นเรื่อยๆทุกรอบ555 หากสอบผ่าน รายชื่อเราก็จะถูกส่งไปให้หน่วยงานควบคุมมาตรฐานของบริษัทที่สำนักงานใหญ่ เพื่อขอรับการทดสอบภายในครั้งสุดท้ายก่อนจะส่งไปสอบรับใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ ที่กรมการบินพลเรือน
ในระหว่างที่รอกรรมการสอบจากส่วนกลาง ก็ OJT เก็บเกี่ยวประสบการณ์และเตรียมตัวอ่านหนังสือให้พร้อมรับศึกหนักกันไปก่อนครับ ระยะเวลาที่รอไม่แน่นอน ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ บางทีอาจรู้กำหนดการสอบล่วงหน้าแค่ไม่กี่วันก็ได้นะครับ
ในระหว่างที่รอกรรมการสอบจากส่วนกลาง ก็ OJT เก็บเกี่ยวประสบการณ์และเตรียมตัวอ่านหนังสือให้พร้อมรับศึกหนักกันไปก่อนครับ ระยะเวลาที่รอไม่แน่นอน ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ บางทีอาจรู้กำหนดการสอบล่วงหน้าแค่ไม่กี่วันก็ได้นะครับ
พอกำหนดการสอบออกมาก็เริ่มตื่นเต้นแล้วซิ การสอบรอบนี้แข้มข้นเป็นพิเศษกว่ารอบก่อนๆ เพราะเป็นเสมือนการจำลองการสอบกับกรมการบินพลเรือน ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายก่อนรับใบอนุญาต จึงต้องเข้มงวดเป็นพิเศษกว่าการสอบรอบๆ กรรมการสอบบางท่านจะดุนิสนึง ทั้งที่เคยเจอกันก่อนหน้านี้ก็ยังใจดีอยู่เลย ท่านบอกว่าเวลาปกติกับเวลาสอบมันคนละบทบาทกันครับ 555
ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งหมดทั้งมวลโดนเอามาถามหมด และต้องเข้าใจจริงๆครับไม่ใช่แค่ท่องจำมา มิฉนั้นแล้วอาจโดนกรรมการต้อนให้จนมุม หรือไม่ก็พาออกทะเลลอยคออยู่คนเดียวไม่มีใครไปรับกลับเข้าฝั่งนะคร้าบ อันนี้ล้อเล่นนะ แฮะๆ กรรมการท่านไม่โหดร้ายขนาดนั้นครับ แต่ที่ต้องถามลึกก็เพื่อจะทดสอบว่าเราเข้าใจแค่ไหน ตรงไหนที่ยังเข้าใจผิดก็จะได้รู้และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์มากๆ
นอกจากสอบข้อเขียน , Oral test และ Sim แล้ว รอบนี้ยังมีเพิ่มมาอีกอย่างคือการดูการทำงานจริง โดยกรรมการจะเลือกช่วงเวลาดูการทำงานในช่วงที่ Traffic หนาแน่นที่สุดของวัน(ถ้าเป็นไปได้) ท่านบอกว่า Traffic ไม่ยากมันก็ไม่หนุก หุหุ กรรมการจะดูตั้งแต่เราเริ่มเดินขึ้นมาบนหอฯเลยครับว่าทำทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความหรือไม่ เวลามีเครื่องบินก็ทำงานไป แต่อย่าเผลอว่างนะ ท่านเห็นอะไรบนหอฯก็เอามาถามได้หมด อุปกรณ์ตัวนั้นตัวนี้คืออะไร ทำงานยังไง ถ้าเสียแจ้งหน่วยงานไหน แจ้งนักบินด้วยมั้ย มีผลกระทบกับการบินหรือไม่อย่างไร บลา บลา บลา...
ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งหมดทั้งมวลโดนเอามาถามหมด และต้องเข้าใจจริงๆครับไม่ใช่แค่ท่องจำมา มิฉนั้นแล้วอาจโดนกรรมการต้อนให้จนมุม หรือไม่ก็พาออกทะเลลอยคออยู่คนเดียวไม่มีใครไปรับกลับเข้าฝั่งนะคร้าบ อันนี้ล้อเล่นนะ แฮะๆ กรรมการท่านไม่โหดร้ายขนาดนั้นครับ แต่ที่ต้องถามลึกก็เพื่อจะทดสอบว่าเราเข้าใจแค่ไหน ตรงไหนที่ยังเข้าใจผิดก็จะได้รู้และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์มากๆ
นอกจากสอบข้อเขียน , Oral test และ Sim แล้ว รอบนี้ยังมีเพิ่มมาอีกอย่างคือการดูการทำงานจริง โดยกรรมการจะเลือกช่วงเวลาดูการทำงานในช่วงที่ Traffic หนาแน่นที่สุดของวัน(ถ้าเป็นไปได้) ท่านบอกว่า Traffic ไม่ยากมันก็ไม่หนุก หุหุ กรรมการจะดูตั้งแต่เราเริ่มเดินขึ้นมาบนหอฯเลยครับว่าทำทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความหรือไม่ เวลามีเครื่องบินก็ทำงานไป แต่อย่าเผลอว่างนะ ท่านเห็นอะไรบนหอฯก็เอามาถามได้หมด อุปกรณ์ตัวนั้นตัวนี้คืออะไร ทำงานยังไง ถ้าเสียแจ้งหน่วยงานไหน แจ้งนักบินด้วยมั้ย มีผลกระทบกับการบินหรือไม่อย่างไร บลา บลา บลา...
หากสอบผ่านเกณฑ์แล้ว บริษัทก็จะส่งรายชื่อเพื่อขอสอบรับใบอนุญาตไปที่กรมการบินพลเรือน โดยเราจะต้องมาสอบภาคทฤษฎีที่กรมฯ ถ้าสอบผ่าน ทางกรมฯจะส่งกรรมการมาสอบ Oral test , Sim และดูการทำงานจริงที่ศูนย์ควบคุมการบินของเรา การสอบก็จะเหมือนกับรอบที่แล้วครับ ถ้าสอบผ่าน การเป็น ATC ก็อยู่แค่เอื้อมแล้ว
แต่ก็ยังไม่หมดนะครับ ในระหว่างรอผลสอบจากกรมฯเรายังต้องไปสอบวัดระดับภาษาอังกฤษขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำคือ Level 4 ด้วยด้วยนะครับ ถ้าสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่าน ที่ทำมาทั้งหมดก็จบเบย ทำงานไม่ได้นะจ๊ะ
แต่ก็ยังไม่หมดนะครับ ในระหว่างรอผลสอบจากกรมฯเรายังต้องไปสอบวัดระดับภาษาอังกฤษขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำคือ Level 4 ด้วยด้วยนะครับ ถ้าสอบภาษาอังกฤษไม่ผ่าน ที่ทำมาทั้งหมดก็จบเบย ทำงานไม่ได้นะจ๊ะ
รวมเวลาตั้งแต่วันแรกที่มาประจำศูนย์ภูมิภาคจนถึงวันที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน หรือถ้ารวมเวลาตั้งเริ่มเข้าบริษัทมาก็ใช้เวลาไป 2 ปีกว่าหรืออาจจะเกือบ 3 ปีเลยทีเดียว เห็นมั้ยครับว่าการผลิต ATC(มือใหม่) แต่ละคนนั้นต้องใช้เวลายาวนาน ค่าใช้จ่ายทั้งที่เห็นชัดเจนและค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ รวมแล้วบริษัทต้องใช้งบประมาณในหลักล้าน
เพราะฉนั้นหากใครได้มาทำงานตรงนี้ก็จงภูมิใจได้เลยครับว่าเราเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของบริษัท จึงควรทำงานอย่างเต็มภาคภูมิและเต็มความสามารถเพื่อทดแทนคุณบริษัทที่ให้โอกาสเรา เพื่อความพึงพอใจของผู้รับบริการควบคุมจราจรทางอากาศ(นักบิน) และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อความปลอดภัยของทุกคนบนเครื่องบินครับ
หวังว่าแบไต๋ ATC ตอน เส้นทาง(ไม่ลัด)ของ ATC ทั้งสามภาค จะเป็นประโยชน์และช่วยเปิดโลกแห่งการบินให้กว้างขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจได้ไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามอ่านเรื่องราวของ ATC(มือใหม่) ที่อยากแบไต๋ให้คนทั่วไปได้รู้จักอาชีพนี้มากขึ้นครับ สวัสดีครับ ^^
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.aerothai.co.th
https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%8B-ATC/1485312548393581
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.aerothai.co.th
https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%8B-ATC/1485312548393581